วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีดูแลสุนัขช่วงหน้าร้อน

วิธีดูแลสุนัขช่วงหน้าร้อน


ร้อนจริง ร้อนจัง อากาศร้อนช่วงเมษานี้กลางวันร้อนมากถึง 40-41 องศาแบบนี้ ต้องดูแลโกลเดนกันมากหน่อยเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นหมาขนยาวที่มีโอกาสเกิดอาการฮีทสโตรก Heatstroke ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายกว่าหมาพันธุ์อื่นๆ
ร่างกายของ น้องหมาจะระบายความร้อนทางปากและลิ้นและที่อุ้งเท้าโดยไม่มีต่อมเหงื่อตามรู ขุมขนตามผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจหากน้องหมาทำลิ้นห้อยอยู่ตลอดเวลาและบางครั้งก็เอา เท้าจุ่มน้ำก็ปล่อยให้ทำไปเพราะเป็นการระบายความร้อนโดยธรรมชาติ อาการฮีทสโตรกเกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้กับอากาศร้อนได้ทัน การวิ่งออกกำลังกายมากๆในช่วงอากาศร้อน หรืออาการขาดน้ำที่เพียงพอ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายเป็นเวลานานๆ ร่างกายไม่สามารถปรับระบบระบายความร้อนได้ทัน โดยปกติอุณหภูมิของน้องหมาจะอยู่ที่ 38-39 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาที่เกิดจากอากาศไม่ใช่เกิดจากอาการไข้ติดเชื้อก็จะมีอาการหายใจแรง หอบ น้ำลายเยอะมาก เหงือกแดงมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก อาเจียนออกเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด มีจุดแดงตามร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุก อุณหภูมิร่างกายสูง จนเกิดอาการชัก หยุดหายใจและตายได้ ซึ่งจะมีผลทำให้อวัยวะต่างๆได้รับผลกระทบดังนี้
เซลล์ระบบประสาทถูกทำลาย มีเลือดออกที่สมอง
ระบบหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เยื่อบุลำใส้ขาดเลือดและเป็นแผล อาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ตับและท่อน้ำดี เซลล์ตับตาย
ระบบขับถ่ายผิดปกติ ทำให้เกิดโรคร้ายแรงเฉียบพลันได้
เลือดเข้มข้นเกินไป เกล็ดเลือดต่ำ ระบบเลือด น้ำเหลือง และภูมิคุ้มกัน
บกพร่อง มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ขาดเลือดและน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอ
เมื่อมี อาการเช่นนี้ต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็วที่สุด การปฐมพยาบาลก่อนนำพบแพทย์ทำได้โดยการลดอุณหภูมิร่างกายลงโดยการนำน้ำมาชโลม ให้ทั่วทั้งร่างกายหรือทำให้น้องหมาชุ่มน้ำ ใช้สารระเหยทำให้เกิดความเย็นเช่นแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณอุ้งเท้า ใต้รักแร้ และบริเวณขาหนีบ เปิดพัดลมช่วยถ่ายเทความร้อน
การป้องกันคือสิ่งที่ดีที่สุดเราสามารถทำได้โดย
ต้องมีน้ำให้กินตลอดเวลาไม่ให้ขาด
ไม่พาออกกำลังกายในช่วงบ่ายหรือเวลาที่อากาศร้อนจัด
หาที่ร่มหรือที่หลบแดดมีอากาศถ่ายเทให้อยู่ในช่วงกลางวัน
เมื่อไปไหน กับน้องหมาไม่ให้เก็บไว้ในรถโดยเด็ดขาด หรือถ้าจำเป็นต้องจอดในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ เปิดกระจกออกให้มีอากาศระบายและมีน้ำดื่มไว้ให้ด้วย มีน้องหมาจำนวนมากที่ตายโดยที่เจ้าของคิดว่าไปไม่นานและเป็นสาเหตุที่ใหญ่ สุดที่เจอบ่อยที่สุด
การให้อาหารในตอนเย็นต้องให้หลังจากแดดร่มแล้วหรือยืดเวลาออกไปให้หลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากน้องหมาจะไม่กินอาหารหากอากาศร้อน
อาบน้ำให้หรือราดน้ำให้ทั่วและเช็ดตัวให้หมาดๆ ปล่อยให้แห้งเองโดยไม่ต้องไดร์
อาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาดๆปูให้นอนในช่วงกลางวัน แต่ต้องเอาออกในช่วงกลางคืนป้องกันปอดบวม
ใช้พัดลมเป่าหรือให้อยู่ในห้องแอร์เลย
การที่น้อง หมาจะกลับมาหายดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะถูกทำลายลงไปมากน้อยเพียงไร ดังนั้นเราควรป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดอาการเช่นนี้ เพราะไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”
ไฮเปอร์เทอเมีย Hyperthermia หรือ ฮีทสโตรก Heat Stroke
คืออาการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับความร้อนจากภายนอกมากขึ้น หรือเนื่องจากร่างกายเกิดความร้อนภายในมากขึ้น หรือเนื่องจากการระบายความร้อนออกจากร่างกายน้อยลง สาเหตุ
- สาเหตุสำคัญก็คือการที่อากาศภายนอกร้อนจัดเป็นเวลานาน
- เกิดจากให้สัตว์ออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อขณะมีความชื้นในอากาศสูง
- สัตว์อ้วนเกินไป
- สัตว์มีขนดก หนา และจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่การระบายอากาศไม่ดีพอ เช่น การขนส่งสัตว์โดยทางเรือ
- เนื่องจาก Dehydration ซึ่งทำให้การระบายอากาศโดยการระเหยของน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง
- การให้ยาสงบประสาท กับสัตว์ในขณะที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิด ไฮเปอร์เทอร์เมียได้ Metabolic rate จะสูงขึ้นประมาณ 40-50% Glycogen ที่เก็บสะสมไว้ในตับจะถูกนำมาใช้ไปอย่างรวดเร็ว และพลังงานพิเศษของร่างกายจะได้มาจากการเพิ่ม Protein metabolism สูงขึ้น เนื่องจาก Hyperthermia ทำให้สัตว์ปากแห้ง และการทำงานของระบบการหายใจผิดไป จึงทำให้เกิดการเบื่ออาหาร ซึ่งมีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง และกล้ามเนื้อขาดพลัง เกิดภาวะ hypoglycemia และ non-protein nitrogen ในเลือดสูง
สัตว์จะกระหายน้ำเนื่องจากปากแห้ง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของเลือดสูงขึ้น และเนื่องจากความดันเลือดตกอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย อัตราการหายใจสูงขึ้นเนื่องจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะไปมีผลต่อ respiratory centre ปัสสาวะจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนเลือดที่ผ่านไตน้อยลง อันเป็นผลสือเนื่องมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย
เมื่อเกิด Hyperthermia ถึงขั้นอันตรายสูงสุด จะมีผลคือระบบประสาทจะถึงขั้นอันตรายสูงสุด จะมีผลคือระบบประสาทจะถูกกดการทำหน้าที่ตามปกติของมัน และระบบการหายใจก็จะถูกกดเช่นเดียวกันอันเป็นผลทำให้สัตว์ตาย เนื่องจากกการล้มเหลวของระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนของเลือดก็จะล้มเหลวเช่นกัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลำง ถ้าภาวะ Hyperthermia ไม่สูง และนานเกินไปก็จะมีผลกระทบกระเทือนต่อ metabolism ภายในร่างกายเท่านั้น และมักจะเกิด degenerative changes ของเนื้อเยื่อต่างๆ ด้วย อาการ
อาการที่สัตว์แสดงให้เห็นในระยะแรกๆ ก็คืออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจจะเพิ่มขึ้น ชีพจรอ่อนลง ในระยะแรกจะมีเหงื่อออกมาก แต่ระยะต่อไปจะไม่มีเหงื่อออกมาเลย น้ำลายไหล กระวนกระวายต่อมาก็จะเริ่มซึม เดินโซเซ ในระยะแรกสัตว์จะกระหายน้ำจัด และจะพยายามอยู่ในที่เย็น เช่นนอนแช่น้ำ ต่อมาเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 106 F. จะถึงขั้นหายใจหอบ ต่อจากนั้นจะหายใจตื้นไม่เป็นจังหวะ ชีพจรเร็วมาก และอ่อน สุดท้ายถึงขั้น collapse ชัก และโคม่า ส่วนมากสัตว์ทุกชนิดตายเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงถึง 107-109 F. ส่วนสัตว์ท้องอาจจะแท้งได้ถ้าระยะเวลาที่เกิด Hyperthermia นาน
การวินิจฉัยโรค
ต้องแยกให้ออกระหว่าง Hyperthermia กับ อาการไข้ และโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) สำหรับโลหิตเป็นพิษจะพบมีจุดเลือดออกที่ muscous membrane และบางครั้งพบที่ผิวหนังด้วย และในการเพาะเชื้ออาจจะพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนอกจากนี้การตรวจ และสังเกตสิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยอย่างมากในการหาสาเหตุของ Hyperthermiaการรักษา
ใช้วิธีประคบเย็น(cold applications) จะได้ผลดีนอกจากนี้การให้ยาพวกซาลิซีเอท (Salicyate) เช่น แอสไพริน ก็ช่วยได้มากในกรณีเช่นนี้ โดยให้กินสำหรับม้า และโคให้ในขนาด 8-60 กรัม สุกร 1-3 กรัม สุนัข 0.3-1 กรัม นอกจากนี้ควรให้ยาสยบประสาท (Tranqulizing drugs) เช่น Largactil (chlorpromazine hydrochloride) เพื่อระงับอาการกระวนกระวาย นอกจากนั้นควรให้ยาช่วยประกอบการรักษาด้วย เช่นการฉีดกลูโคส และโปรตีน และให้สัตว์ป่วยอยู่ในที่ร่ม มีการระบายอากาศดี มีน้ำให้กินเพียงพอ
**ที่มา:www.hamsteronline.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น