วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปฐมพยาบาลเมื่อสุนัขมีไข้ตัวร้อน

กรณีที่สุนัขมีไข้ ตัวร้อนอาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน อาการความร้อนสูงคือ อุณหภูมิร่างกายสูงมากถึง 105 องศาฟาเรนไฮด์ หรือมากกว่านั้น ที่เห็นได้ชัด ๆ คือ อ่อนเพลีย เดินโซเซ อาเจียน หายใจลำบาก มีอาการชักแน่นิ่ง
การปฐมพยาบาลขั้นต้นควรพาสุนัขเข้ามาอยู่ในทีเย็น ๆ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี หรือปรับอากาศ จากนั้นก็ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัวโดยเฉพาะขาด้านใน หน้าท้อง ขาทั้ง4 รวมไปถึงบริเวณหัว เพราะจะมีศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอยู่ อาจถุงพลาสติกใส่น้ำแข็งประคบที่หัว ที่ด้านในของขาหน้าใกล้กับตัวหรือที่ด้านในของสะโพกสุนัข ทำเช่นนี้จนอุณหภูมิของร่างกายลดลงหากไม่สำเร็จตัวสุนัขยังร้อนจัด อยู่ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพราะถ้าไข้สูงมากอาจทำให้เกิดอาการชักและเป็นอันตรายต่อสมองได้

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีปฐมพยาบาลสุนัขเมื่อกินยาเบื่อ ยาพิษ

ยาเบื่อหรือยาพิษที่สุนัขกินเข้าไป มักจะเป็นโดยบังเอิญมากกว่าตั้งใจจะกิน บางครั้งก็ไปกินยาเบื่อหนูหรือยาฆ่าแมลงที่ซุกเอาไว้ ผู้ร้ายวางแผนจะขโมยของในบ้านก็วางยาสนัขให้ตายเสียก่อนเพื่อที่จะเข้าไปลักขโมยของในบ้านได้สะดวก สุนัขที่กินยาพิษจะมีอาการดังนี้ ตัวสั่น น้ำลายฟูมปาก อาเจียน แสดงอาการเจ็บปวดในท้อง ชัก ตัวเกร็ง ขาทั้งสี่เหยียดออก ยาพิษบางชนิดทำอันตรายต่อสุนัขช้ามาก เช่นสุนัขที่เลียและได้กินสีทางบ้านเข้าไปจะแสดงอาการเพียงทีละเล็กทีละน้อย จนถึงขนาดหนักไม่สามารถรักษาได้ สำหรับยาพิษพวกสตริกนินนั้นจะทำให้สุนัขที่กินไปตายทันทีสุนัขได้รับอันตายจากพิษ ไม่ว่าจะเป็นพิษชนิดใดโดยปกติจะต้องรีบช่วยเหลือบรรเทาพิษร้ายทันที ในระยะก่อนก่อนที่จะนำสุนัขไปพบแพทย์ ต้องพยายามทำให้สุนัขขจัดเศษยาเบื่อหรือยาพิษที่มีอยู่ โดยการทำให้อาเจียนออกมาด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่งดังนี้
ใช้ผงมัสตาร์ดครึ่งช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 ถ้วยกรอกให้กินหรือใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 3 % ผสมกับน้ำเท่ากันให้กินในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักสุนัข 5 กก. จะสามารถกระตุ้นให้สุนัขอาเจียนสำรอกเอาเศษยาเบื่อออกมาได้ บางครั้งอาจพบคราบยาหรืออาหารนั้นเปื้อนตามรอบปาก ก็ต้องใช้น้ำสะอาดล้างและเช็ดยาให้สะอาด
การดูดซับพิษที่ยังหลงเหลืออยู่เพื่อไม่ให้ซึมเข้ากระแสโลหิตต่อไป โดยการใช้สารที่สามารถดูดซับพิษซึ่งหาได้ง่ายเช่น ถ่านหุงข้าว หรือไข่ขาว วิธีการทำให้ตำถ่านให้ละเอียด 5-6 ช้อนชา ผสมน้ำลงไปครึ่งถึง 1 ลิตร คนให้เข้ากันดีป้อนให้สุนัขกินจนหมด หากใช้ไข่ขาวสำหรับสุนัขเล็กให้ใช้ประมาณ 2 ฟอง สุนัขใหญ่ก็ราว 3-5 ฟอง
สุนัขกินอาหารที่บุกเน่า สุนัขจะมีอาการท้องเดินอย่างแรงบางครั้งถึงมีเลือดปนอุจจาระ อาเจียน เจ็บบริเวณท้อง อ่อนเพลีย ก็ให้กินไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำหนักสุนัข 5 กก. เมื่ออาการผิดแล้วควรให้กินยาระยายเพื่อขับถ่ายพิษที่เหลือหลังจากนั้นจึงนำสุนัขไปส่งแพทย์

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การห้ามเลือดสุนัข

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกมีหลายประการ แต่เท่าที่จำเป็นต้องทราบคือ จากบาดแผล เช่น สังกะสีบาดเท้า ลวดหนามเกี่ยว, โรคภัยไข้เจ็บ เช่น ลำใส้อักเสบ ถ่ายเป็นเลือดสด เป็นต้น ถ้ามีเลือดไหลออกมาแรงก็ต้องทำการควบคุมหรือการห้ามเลือด
ถ้าเลือดไหลภายนอกเนื่องมาจากเป็นแผลด้วยสาเหตุด้วยอันใดก็ตาม ก็ควรจะห้ามเลือด ซึ่งทำได้ตั้งแต่วิธีกดบริเวณที่มีเลือดไหลออกมาด้วยผ้าสะอาดหรือผ้ากอซ สักพักหนึ่งเลือดก็จะหยุด ถ้ามิได้เป็นแผลมาจากเส้นเลือดใหญ่ขาด ส่วนลำตัวคือ ช่วงอกและช่วงท้องหากมีบาดแผลเลือดออกมีทางเดียวคือใช้ผ้ากอซ กดปากแผลแล้วรัดพันให้แน่น ถ้าแผลไม่ลึกหรือใหญ่จนเกินไปเลือดก็จะหยุดเอง แต่หากเลือดไม่หยุดมีเลือดเต็มผ้าพันแผลให้รีบนำส่งหมอด่วน เพราะการที่มีเลือดออกมาจากส่วนนี้มาก เพราะการที่มีเลือดออกมาจากส่วนเหล่านี้มาก ๆ ได้ต้องมีสาเหตุมาจากการฉีกขาดของอวัยวะภายในอย่างรุนแรงในกรณีที่มีเลือดออกมามากที่ปลายเท้า หรือที่ขา ใช้มือรัดขาให้แน่นเหนือบาดแผล ใช้กำลังแต่พอเพียงที่จะคบคุมไม่ให้เลือดออก อาจเปลี่ยนจากมือเป็นเชือกกดรัด หรือใช้ผ้าพันแผลห้ามเลือด ถ้าเลือดยังไม่หยุด เมื่อทำตาม 2 วิธี ดังกล่าวแล้ว ก็ต้องใช้วิธีขันชะเนาะ โดยใช้เชือกเศษผ้า เชือกผูกรองเท้า หรือผ้าพันแผล การขันชะเนาะทำให้เหนือบาดแผลแล้วควั่นให้ตึงก็จะสามารถห้ามเลือดได้ แต่ขอสำคัญอย่าพันแน่นจนเลือดไม่เดิน และต้องคลายออกเป็นระยะเพื่อให้เลือดบางส่วนไปเลี้ยงอวัยวะ และเนื้อเยื่อบางส่วนปลายไปได้บ้าง มิฉะนั้นจะทำให้เนื้อส่วนนั้นตายสำหรับแผลที่หัว คอหรือลำตัว ใช้วิธีดังกล่าวไม่ได้ก็ทำได้แต่เพียงแผ่นผ้าพันแผลกดที่แผลแน่น ๆ นาน ๆ บางทีโชคดีเลือดอาจหยุดไหลได้ แต่ถ้าเลือดไหลใกล้ทางเดินลมหายใจหรือปอด ก็ใช้แผ่นผ้าพันแผลหนาๆ กดยัดเลือดกลับเข้าไปในแผล บางครั้งอากาศร้อนจัดก็ทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตก มีเลือดกำเดาไหลออกมา วิธีแก้ยายามให้สุนัขอยู่นิ่ง ๆ อย่างสงบแล้วใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบตั้งแต่จมูกเอาไว้ สักพัก เลือดก็จะหยุดไหลเอง แต่ถ้าเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร บิด พาร์โวไวรัส สารพิษบางชนิด ทำให้สุนัขอาเจียนเลือดและถ่ายเป็นเลือด มีอาการช็อก ไอเป็นเลือด อาการเหล่านี้แสดงว่ามีกาเลือดตกในควรรีบนำส่งหมดทันที เพราะสุนัขต้องการการรักษาอย่างถูกต้องและเฉียบพลัน

การทำแผล

บาดแผลเป็นเหตุฉุกเฉินและเกิดขึ้นได้บ่อย และสาเหตุต่าง ๆ กัน เช่น โดนของมีคมบาด ถูกทำร้ายจากคนหรือจากสุนัขด้วยกัน แผลเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตื้นบ้าง ลึกบ้าง แตกต่างกันไป ตามปกติแล้วการรักษาบาดแผลเป็นหน้าที่ของสัตวแพทยืแต่เมื่อมีความจำเป็นต้องทำเอง ให้ปฏิบัติดังนี้
- ุ ถ้าเลือดออกมามากให้ปฏิบัติดังหัวข้อ การห้ามเลือด ุ -ตัดขนรอบแผลออกเพื่อให้เห็นแผลได้ชัดไม่สกปรกรุงรัง ระมัดระวังอย่างให้ขนร่วงเข้าไปในแผล-ป้องกันเชื้อโรคเข้าแผลด้วยการล้างแผลด้วยน้ำสะอาด น้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ จากนั้นซับให้แห้ง เอาสิ่งแปลกปลอมที่หลงเหลืออยู่เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เศษแก้ว เศษขน ออกให้หมด-ุ ใส่ยาใส่แผลสำหรับแผลสด เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ยางแดง ยาเหลือง ทาให้ทั่วบาดแผลและบริเวณข้างเคียง อย่าใช้สำลีชุบทิงเจอร์ไอโอดีนจนชุ่มยังใสแผลเพราะจำทำให้เกิดอันตรายได้-หากบาดแผลกว้างควรปิดแผลด้วยผ้ากอซ พร้อมกับใช้พลาสเตอร์ชนิดเหนียวปิดทับป้องกันผ้ากอซหลุด แผลจะได้สะอาดอยู่เสมอ

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กระดูกหัก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุสุนัขอาจเกิดกระดุกหัก ชนิดไม่มีแผลหรือชนิดมีแผล เช่น กระดูกขาหักแทงทะลุออกมาข้างนอก หรือกระดูกซี่โครงหักอาจทิ่มแทงอวัยวะภายในได้ ดังนั้น จึงควรทำการปฐมพยาบาลก่อนส่งสัตวแพทย์ เพื่อป้องกัน อันตรายที่เกิดจากกระดุกไปทิ่มอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
กระดูกหักมักเกิดกับส่วนของขาเป็นส่วนมาก ซึ่งต้องการวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้องคือ เข้าเฝือก ในขั้นแรกต้องควบคุมให้สุนัขอยู่นิ่ง ๆ เพื่อลดอันตรายที่จะเพิ่มขึ้นจากกระดูกหัก และให้สุนัขได้รับความอบอุ่นเพื่อป้องกันการช็อก ต่อจากนั้นให้ใช้วัสดุใกล้ตัว เช่นไม้ หนังสือพิมพ์ นำมาม้วนเป็นท่อนแข็งพอประมาณ นำมาดามกับส่วนขาที่หักแล้วใช้ผ้าหรือเทปกาวพันรัดเอาไว้มิให้หลุด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการขยับเขยื้อนของกระดุกส่วนที่หัก การพันเฝือกจะต้องไม่ให้บีบรัดเส้นเลือดจนไม่สามารถหมุนเวียนตามปกติ ซึ่งดูจากปลายเท้าที่บวมเพราะเลือดคั่งไม่สามารถไหลได้
เพื่อป้องกันการขยับของเฝือกควรพันเฝือกให้พันข้อกระดูกที่อยู่เหนือและใต้ตำแหน่งกระดูกที่หัก
หากกระดูกที่หักทะลุแทงออกนอกเนื้อ ควรใช้ยาใส่แผลสดทาและใช้ผ้ากอซ สะอาดปิดแผลไว้ชั่วคราว พร้อมกับตามกระดูกที่หักตามแบบกระดูกงูธรรมดาที่สำคัญอย่าจัดกระดูกเข้าที่โดยไม่รู้วีธีทำ เพราะอาจเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี ควรเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์เป็นผู้จัดการ

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาสุนัขเบื่ออาหาร/ไม่กินอาหาร

อาจเกิดข้นได้ในเวลาที่สุนัขเจ็บป่วย ลองวัดอุณหภูมิของสุนัขดูว่ามีไข้หรือไม่และกินน้ำมากหรือน้อยกว่าปกติหรือเปล่า ซึ่งสองอย่างนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงอาการปกติหรือเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดีลองดูมีอะไรทำให้สุนัขเครียดหรือเปล่า

            เพื่อช่วยให้สุนัขป่วยได้สารอาหารที่ครบถ้วนให้เอาวิตามิน B (วิตามินบีรวม) ขนาด 100 มก. ให้กินวันละครั้งโดยไม่ต้องสนใจน้ำหนักตัวของสุนัขเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากกินเหมือนปกติ สำหรับอาการเบื่ออาหารของสุนัขนั้นถ้ามีอาการอาเจียนหรืออุจจาระผิดปกติ มีลมมากให้ใช้ Nux Vomicaด้วย ถ้ามีอาการไม่ยอมกินน้ำและทำท่าเหมือนอาเจียน แต่ไม่มีอะไรออกมาให้ใช้ Belladonna วันละสองครั้ง ก่อนอาหารเพื่อลดอาการและเป็นการกระตุ้นความอยากอาหารของสุนัขด้วย หากสุนัขมีอาการเครียดก็ให้ใช้สารสกัดจากดอกไม้เพื่อช่วยลดความเครียดของสุนัขได้

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธรรมชาติบำบัดสำหรับสุนัข

 
สุนัขทุกตัวที่เราเลี้ยงไว้ที่บ้านนั้นล้วนแล้วแต่ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ได้ออกกำลังกาย ได้กินอาหารที่เหมาะสม และได้รับกระบวนการล้างพิษบ้าง สิ่งสำคัญต่อไปคือการป้องกันและรักษาโรค ซึ่งวิธีการที่ใช้ได้ผลคือธรรมชาติบำบัดนั้นเอง
เราต้องหมั่นตรวจสอบสิ่งต่างๆของสุนัขไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมหรือว่าร่างกายของสุนัขก็ตามสิ่งเหล่านี้จะละเลยไม่ได้เลย ส่วนใหญ่แล้วจะมี 10 อย่างด้วยกัน แต่จะยกมาเพียง 5 อย่างเท่านั้น 
  • 1. โภชนาการ-เราต้องสังเกตว่าสุนัขนั้นกินอะไรบ้าง บ่อยแค่ไหน อาหารที่กินนั้นสะอาดแค่ไหนเราต้องควรเช็คให้เรียบร้อย

  • 2. การย่อยอาหาร-เราต้องสังเกตด้วยว่าสุนัขของเรานั้นขับถ่ายบ่อยแค่ไหน แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติอาการแรกที่เราจะเห็นคือ อาเจียนและท้องเสียเกินกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเราไม่รีบนำสุนัขไปรักษาก็อาจเกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้

  • 3.ฉี่ของสุนัข-เวลาที่สุนัขฉี่นั้นเราก็ต้องสังเกตด้วยว่าสุนัขนั้นฉี่เป็นสีอะไร ถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์

  • 4.  ผิวหนังและขน – ผิวหนังของสุนัขนั้นเราต้องสังเกตว่าเปลี่ยนไปจากปกติบ้างไหม มีสะเก็ดแห้งหรือความมันของขนผิดปกติ ขนร่วงมากไป คันมากไป เกามาก ซึ่งสภาพของขนและผิวหนังเป็นตัวบอกถึงสุขภาพของสุนัขได้ชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับตับและไต ยิ่งเห็นผลได้ชัดเจน
  • 5.ตาและจมูก- เราต้องสังเกตการณ์อักเสบของตาและจมูกของสุนัข ตาที่ระคายเคืองมากๆเป็นผลให้ไปอุดตันท่อน้ำตา ทำให้สุนัขเกิดน้ำมูกสะสมและหายใจลำบาก